14 - 15 กุมภาพันธ์ 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์


ลงทะเบียนและส่งบทความ

การประชุมและแข่งขันทักษะวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ครั้งที่ 2 : NAC - HUSOC II 2022

PROCEEDINGS(FULL PAPER)





                        1. แนวทางในการเตรียมนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย (Oral Presentation) ผ่านระบบออนไลน์
                        2. แนวทางในการเตรียมนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ผ่านระบบออนไลน์


                        รายชื่อผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้นำเสนอผลงานระดับชาติ

กำหนดการส่งบทความวิชาการ


# กิจกรรม ช่วงเวลา
1 ประชาสัมพันธ์โครงการ 25 ตุลาคม 2564 – 13 กุมภาพันธ์ 2565
2 ส่งบทความวิจัยฉบับเต็มพร้อมชำระค่าลงทะเบียน 1 พฤศจิกายน 2564 – 1 กุมภาพันธ์ 2565
3 ประกาศรายชื่อบทความที่ได้รับการยอมรับให้นำเสนอในการประชุม 3 กุมภาพันธ์ 2565
4 ส่งบทความที่แก้ไขตามข้อแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewers) 7 กุมภาพันธ์ 2565
5 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการประชุม 8 พฤศจิกายน 2564 – 4 กุมภาพันธ์ 2565
6 การประชุมวิชาการระดับชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับปริญญาตรี ครั้งที่ 2 14 กุมภาพันธ์ 2565
7 ส่งบทความฉบับสมบูรณ์ที่แก้ไขแล้วเพื่อตีพิมพ์ 18 กุมภาพันธ์ 2565
8 เผยแพร่บทความวิจัยฉบับเต็มในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Online Proceedings) 5 มีนาคม 2565

ติดต่อสอบถาม


การติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูล
สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ https://nac-husocii.bru.ac.th/ และ เว็บไซต์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
- สำนักงานคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคาร 25 ชั้น 2 เลขที่ 439 ถนนจิระ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
เบอร์โทร: 044 611221 ต่อ 4001,4002
มือถือ: 064-4625032
แฟกซ์: 044 612858
- ผศ.ดร. คำภีรภาพ อินทะนู โทรศัพท์หมายเลข 085-0246009, 094-0297545, 094-5242731, 081-8204402
E-mail: kampeeraphab.it@bru.ac.th, akkarapon.nm@bru.ac.th

การลงทะเบียนและการชำระเงิน


อัตราค่าลงทะเบียน


อัตราค่าลงทะเบียน สำหรับบุคคลทั่วไป

  • 1,000 บาท สำหรับผู้นำเสนอผลงานวิจัยทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์
  • 500 บาท สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมแต่ไม่นำเสนอผลงานวิจัย

  หมายเหตุ
                กรณีที่ผู้สมัครทุกประเภทชำระค่าลงทะเบียนแล้วแต่ไม่ได้มาเสนอผลงานหรือไม่ได้เข้าร่วมประชุม หรือผู้สมัครที่ถูกตัดสิทธิ์ในการร่วมนำเสนอ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะไม่คืนเงินค่าลงทะเบียนไม่ว่า กรณีใด ๆ เนื่องจากได้นำค่าลงทะเบียนไปใช้สำหรับเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความวิจัย (Peer reviewers) และใช้จ่ายในการบริหารจัดการประชุมแล้ว

วิธีการชำระเงิน


1. ชำระเป็นเงินสด พร้อมใบสมัคร

ได้ที่คุณจรัลรัตน์ อุ่นรัมย์ สำนักงานคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคาร 25 ชั้น 2 เลขที่ 439 ถนนจินะ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000

  ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 14 มกราคม 2565 สำหรับผู้นำเสนอผลงาน และสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมแต่ไม่นำเสนอผลงาน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565

2. ชำระผ่านธนาคาร โอนเงินผ่านระบบ Electronic Bank Transfer

บัญชีธนาคารของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ชื่อบัญชี :นายคำภีรภาพ อินทะนู, น.ส.ภูริสา วัชเรนทร์วงศ์, น.ส.พลอยไพลิน ศรีวิเศษ
ธนาคาร : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขามหาวิทาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
หมายเลขบัญชี : 427-1-27273-7
รหัส : AYUDTHBK
ที่อยู่: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เลขที่ 439 ถนนจิระ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000

  หมายเหตุ: หลังจากที่ได้โอนเงินผ่านระบบแล้ว ขอให้ท่านส่งสำเนาใบเสร็จการโอนเงินมาที่ Email: nac-husocii@bru.ac.th

การสมัครเข้าร่วมโครงการประชุม


        ดูรายละเอียดการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย ได้ที่https://nac-husocii.bru.ac.th โดยผู้นำเสนอผลงานจะต้องเตรียมต้นฉบับบทความตามรูปแบบที่กำหนดให้โดยเคร่งครัด

การนำเสนอผลงาน


        1. ผลงานวิจัย ผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการของนิสิตนักศึกษาที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่กำกับดูแลก่อนที่จะนำเสนอในการประชุมครั้งนี้
        2. รูปแบบของการเสนอผลงาน
                1) แบบบรรยาย นำเสนอโดย PowerPoint ใช้เวลานำเสนอเรื่องละ 15 นาที ตอบข้อซักถาม 5นาที โดยผู้นำเสนอจะต้องส่งไฟล์ PowerPoint ที่ใช้นำเสนอในรูปแบบ PDF มาที่ https://nac-husocii@bru.ac.th ภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565
                2.) แบบโปสเตอร์ ผู้นำเสนอผลงานวิจัยต้องยืนประจำที่โปสเตอร์ในเวลาที่กำหนด โดยสามารถนำโปสเตอร์มาติดบริเวณที่กำหนดให้ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.

หมายเหตุ:

     1) ผู้นำเสนอผลงานสามารถส่งบทความระดับชาติเพียง 1 บทความเท่านั้น และให้เลือกนำเสนอแบบบรรยายหรือแบบโปสเตอร์อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
     2) ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอระดับชาติ ให้นำเสนอเป็นภาษาไทย

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานวิจัย


        1) ประกาศรายชื่อในวันที่ 19 มกราคม 2565
        2) โดยผู้นำเสนอจะได้รับบทความวิจัยฉบับเต็มที่ผ่านการกลั่นกรอง เพื่อแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความวิจัย (Peer reviewer) และให้ส่งบทความวิจัยฉบับเต็ม (Manuscript) กลับคืนมายังกองบรรณาธิการ ภายในวันที่ 26 มกราคม 2565

หมายเหตุ:

     ผลงานวิจัยฉบับเต็มที่ผู้นำเสนอได้แก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำแล้ว จะตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Online Proceedings)

การพิจารณาผลงาน


        1) การพิจารณาการคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุม และการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ร่วมเป็นแหล่งตีพิมพ์ หรือใน Online Proceedings ให้เป็นไปตามประกาศเรื่อง เกณฑ์การพิจารณาบทความวิจัยและบทความวิชาการในการเผยแพร่และตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการและนิทรรศการระดับชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ครั้งที่ 2 และคำสั่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกองบรรณาธิการรายงานสืบเนื่องโครงการประชุมวิชาการและนิทรรศการระดับชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ครั้งที่ 2
     2) การพิจารณาตัดสิทธิ์การเสนอผลงานวิจัยในการประชุม ในกรณีต่อไปนี้
          2.1 บทคัดย่อ บทความวิจัย และโปสเตอร์ไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มหรือรูปแบบที่กำหนด รวมทั้งไม่ดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
          2.2 การลงทะเบียนและการชำระค่าลงทะเบียนล่าช้า และ/ หรือไม่ครบถ้วน
          2.3 การพิจารณาผลงานโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นการสิ้นสุด

ขอบข่ายเนื้อหา/สาขาวิชา/ศาสตร์ที่จะนำเสนอผลงาน

        1. การปาฐกถาพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
        2. การนำเสนอผลงานวิชาการ/งานวิจัยทั้งภาคบรรยาย (Oral presentation) และภาคโปสเตอร์ (Poster presentation) ที่ครอบคลุมเนื้อหาและหัวข้อย่อยต่างๆ ดังนี้คือ

  • ภาษา ภาษาศาสตร์ และวรรณกรรม
  • ปรัชญาและศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม
  • ชาติพันธุ์
  • บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์
  • ศิลปกรรม ดนตรีและนาฏศิลป์
  • การท่องเที่ยว
  • ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
  • กฎหมายและการเมืองการปกครอง
  • การพัฒนาสังคม
  • การศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้
  • ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อหลักของการประชุม

รูปแบบสำหรับการส่งบทความทางวิชาการ



วิทยากร

speakers

ดร.นงรัตน์ อิสโร

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชำนาญการพิเศษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ช่วยปฏิบัติราชการประจำสำนักงาน พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี

กำหนดการประชุมวิชาการ

วัน/เวลา กิจกรรมและสถานที่
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565
08.00-09.00 น. ลงทะเบียนด้านหน้าห้องประชุมวิชชาอัตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
09.00-09.30 น. พิธีเปิดการประชุมฯ NIRC V โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์มาลินี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
09.30-11.30 น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง "บทบาทของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน" โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
11.30-12.00 น. ประธานตัดริบบิ้นเปิดการนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ณ ห้องประชุมพุทธรักษา อาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ โดย รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30-17.00 น. การนำเสนอภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ งานประชุม NAC-HUSOC II ผ่านระบบออนไลน์
(พักรับประทานอาหารว่าง ระหว่างเวลา 15.00-15.15 น.)
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน ณ ด้านหน้าห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร 25 ชั้น 2
09.00-09.30 น. พิธีเปิดการประชุม NAC-HUSOC II โดย รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
กล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
09.30-12.00 น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง "พัฒนา Soft Skills บัณฑิตพันธุ์ใหม่ ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม : ท้องถิ่นพัฒนา นักศึกษามีงานทำ" โดย ดร.นงรัตน์ อิสโร นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชำนาญการพิเศษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ช่วยปฏิบัติราชการประจำสำนักงาน พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น. การแข่งทักษะวิชาการด้านมนุษยสังคมศาสตร์ของนักศึกษาทั้ง 9 สาขาวิชา ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร 25 ชั้น 2
(พักรับประทานอาหารว่าง ระหว่างเวลา 15.00-15.15 น.)
16.00-16.30 น. มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันทักษะวิชาการด้านมนุษยสังคมศาสตร์
หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

การส่งบทความ

กรุณาคลิก ลงทะเบียน เพื่อสมัครสมาชิก หลังจากนั้นให้กรอก e-mail และรหัสผ่านที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อเข้าระบบสำหรับส่งบทความ
คู่มือการส่งบทความ

เข้าระบบ

ถ้ายังไม่ลงทะเบียน กรุณาลงทะเบียนที่นี่

ลงทะเบียน

หากลงทะเบียนแล้วกรุณาเข้าสู่ระบบที่นี่.


รายชื่อผู้ลงทะเบียน


# ชื่อเรื่อง ผู้ส่งบทความ สังกัด/หน่วยงาน ระดับ ประเภท บทความ การชำระเงิน
1
วรินธร เบญจศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2
วสวัตดิ์ เนตรประหาส สาขาพัฒนาสังคมเมือง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
3
การศึกษาผังเมืองสำหรับจังหวัดภูเก็ต ศิรินทร์ทิพย์ - บรรเทิงใจ คณะคุรุศาสตร์ มหาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
4
ชูเกียรติ ชูสุวรรณ มหาวิทยาลับทักษิณสงขลา คณะนิติศาสตร์ ระดับชาติ ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ ลงทะเบียน ยังไม่ชำระเงิน
5
ความเสมอภาคในการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ชูเกียรติ ชูสุวรรณ มหาวิทยาลับทักษิณสงขลา คณะนิติศาสตร์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
6
การศึกษาสถานภาพและบทบาทของสตรีไทยในอดีตกรณีศึกษาจากภาพสะท้อนละครโทรทัศน์เรื่องวันทอง หัสญาภรณ์ เรืองสังข์ สาขาสังคมศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยลัยราชภัฎภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
7
หัสญาภรณ์ เรืองสังข์ สาขาสังคมศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยลัยราชภัฎภูเก็ต ระดับชาติ ลงทะเบียน ยังไม่ชำระเงิน
8
ศึกษาพฤติกรรมการซื้อหวยใต้ดินของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ศศิโสม วงศ์ชัดเจน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
9
ศึกษาความเสมอภาคของเพศที่สามในการสมรส จังหวัดภูเก็ต Jarukit Dewajarus คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
10
ศึกษาการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดภูเก็ตช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ฤดีมาศ ทองแท้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
11
การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ผ่านมุมมองของผู้ปกครอง ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สินีนาฎ จิตต์พันธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
12
การศึกษาการจัดสวัสดิการจากภาครัฐเพื่อเยียวยาอาชีพอิสระ จากการระบาดของโควิด 19 ในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กัญญาณัฐ ล่องจ้า คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
13
ศึกษาการจัดการความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดภูเก็ต ณัฎฐพล ม่องพร้า คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
14
การศึกษาการบริโภคสารสกัดจากกระชายเพื่อการดูเเลสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชนาธิป - ประชาบุตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
15
ศึกษาการใช้ภูมิปัญญาสมุนไพรไทยของหมอพื้นบ้าน ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต กัญญาวีร์ เกาะสมัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
16
ปฐมพงค์ กุกแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ระดับชาติ ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ ลงทะเบียน ยังไม่ชำระเงิน
17
ลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้าง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี ปฐมพงค์ กุกแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
18
การบริหารจัดการมาตรการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของโรงเรียนเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เบญจพร จันทรโคตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
19
การจัดการเรียนรู้แผนที่ชุมชนแห่งการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ Learning Management through Community Map in Competency-Based Curriculum ทัศน์จิราวรรณ - พูนแก้ว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
20
ฑิฆัมพร และตี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ระดับชาติ ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ ลงทะเบียน ยังไม่ชำระเงิน
21
ห้องเรียนภาษาไทยยุคใหม่บนฐานการเรียนรู้ชุมชน New Era Thai Language Classroom through Community Learning Based ฑิฆัมพร และตี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
22
สามัตถิยะการสื่อสารเพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ในยุค VUCA World ญาณิน สัมพันธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
23
การสร้างสรรค์หนังสือภาพประกอบนิทานประเภณีแซนโฎนตา วรางคณา ปัญญารัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
24
กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ วริณฐ์ศรา เครืองรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
25
การสร้างสรรค์จิตรกรรมดิจิทัลจากประเพณีวันตรุษจีน หงส์หทัย - โล่ห์เจริญวานิช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
26
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี พิธาน แสนภักดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
27
ศึกษาสถาปัตยกรรมโบสถ์มหาอุตม์วัดพระนางสร้างตำบลเทพกษัตรีอำเภอถลางจังหวัดภูเก็ต ปิยนุช ชวดชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
28
เปิดเป้อาสา พัฒนาการรู้หนังสือ ร่วมมือสู่ชุมชน Wider Learning in VUCA World ชญาดา เซ่งเข็ม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
29
Satisfaction towards Online Learning of Business English Major Students at Buriram Rajabhat University ประภัสสร อินทร์นอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
30
พฤติกรรมการปรับตัวของนักท่องเที่ยวช่วงวิกฤตสถานการณ์โควิด19 นัฐวรรณ พิมพ์หาญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
31
Online Learning Challenges during COVID-19 Pandemic of Business English Students ศิริรัตน์ ลาดนอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
32
การศึกษาด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบนบานศาลกล่าวของประชากรในจังหวัดภูเก็ต สรวิศ ก๋งเม่ง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
33
Pudid Phankamol Pudid Phankamol คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
34
Thai-English Translation for Village Information Website Development of Muangthale Village, Khaen Dong district, Buriram Province มยุธิตา พงษ์พิมาย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
35
กาญจนา สุวรรณเหลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
36
การศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำพรุบ้านไม้ขาวตำบลไม้ขาวอำเภอถลางจังหวัดภูเก็ต ศิริพร เพ็ชรมาก มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
37
การศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวแบบSandboxกรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต สิริณัฐ หนูดุก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
38
ทัศนคติของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ที่มีต่อการดำเนินมาตรการ New Normal ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทัตพิชา ขุนดำ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
39
พรภวิษย์ ชะนวนชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
40
Problems and Needs on English Oral Communication of Police Officers in Buriram Immigration ศิริรัตน์ มาโทโทม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
41
กษมา สังขรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
42
กรรณิการ์ ศาลางาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
43
ประสิทธิผลของบ้านนิดพิชิตยุงในการลดความเสี่ยงการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร พันเครือ เชื้อคำฮด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
44
An Investigation of Willingness to Communicate in Thai EFL Learners วิภา นุกิจรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
45
การรับรายงานตัวนักศึกษาใหม่ ณัชชา วงษ์สองชั้น สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบโปสเตอร์ อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
46
ชลิดา แย้มศรีสุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
47
การวิเคราะห์สังคมดิสโทเปียร์ในภาพยนตร์เรื่องวงกตมฤตยู An Analysis of Dystopian World in the Film of The Maze Runner ปฑิตตา ไชยบุตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ชำระโดยการโอนเข้าบัญชี
48
ความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่น อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เกษมณี สีเขียว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
49
การศึกษาความต้องการของประชาชนต่อการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลคูเมือง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พัชรียา ลามั่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
50
การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ ในองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ วนัสนันท์ - วนัสนันท์ พิศเพ็ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
51
ระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารหมักพื้นบ้านกุ้งจ่อม ปาริชาติ ปาริชาติ บุตรสีตะราช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบโปสเตอร์ อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
52
วิภารัตน์ วิภารัตน์ บุตรน้อย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
53
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์แปรรูปจิ้งหรีด ชุมชนโคกยาง ตำบลชำนิ อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ พรสวรรค์ โกศล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบโปสเตอร์ อัพโหลด FullPaper แล้ว ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบี
54
การตัดและแต่งลิ้นปี่ใน หัวใจสำคัญของคนปี่ ชัชวาล สนิทสันเทียะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ยังไม่ชำระเงิน
55
การลงโทษทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กที่ถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากการค้าประเวณี นิชานันท์ ปิ่นแก้ว ปิ่นแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระดับชาติ นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย อัพโหลด FullPaper แล้ว ยังไม่ชำระเงิน

Total 55 Record : 1 Page : 1

หลักการและเหตุผล


                วิศวกรสังคม (Social Engineer) คือคนที่ใส่ใจเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม และเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมให้ดีขึ้น โดยใช้การสังเกต เก็บข้อมูล คิดวิเคราะห์ แบบมีเหตุและผล รวมทั้งการแก้ไขปัญหาแบบเป็นระบบ ในการลงพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาและสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนไปสู่ความเป็นพลเมือง และสร้างชุมชนที่มีการยกระดับสามารถจัดการตนเองได้ บทบาท หน้าที่ของวิศกรสังคมคือวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน ยกระดับองค์ความรู้ในชุมชน สร้างนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาชุมชนและ สร้างความยั่งยืนในการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ บนฐานข้อมูลของชุมชน ดังนั้น วิศวกรสังคม จึงเป็นทั้งผู้เรียนรู้และผู้เอื้อให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ของคนในท้องถิ่น ได้มานั่งพูดคุยเพื่อออกแบบกระบวนการ / วิธีการในการจัดการปัญหาหรือยกระดับทุนของชุมชนไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนผสานกับความรู้จากภายนอกที่วิศกรสังคมจะเชื่อมโยงลงไปสู่ท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ต่อไป (https://www.sangsanpanya.com)
                ในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน จำเป็นจะต้องมีกลุ่มคนที่เป็นแกนนำในการทำงานร่วมกับชุมชนคือวิศวกรสังคม ปัจจุบันวิศวกรทางสังคม เริ่มมีบทบาทในการทำงานร่วมกับชุมชนมากขึ้น ซึ่งวิศวกรทางสังคมมีความสัมพันธ์กับภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพราะวิศวกรทางสังคมมีหน้าที่ในการซ่อมและสร้างสมดุลขึ้นใหม่หลังจากที่สังคมเกิดความบิดเบี้ยวจากการเสียสมดุลระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน ผลประโยชน์สาธารณะและผลประโยชน์ทางสังคม และฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่น ดังพระราชทานนามจากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 “ราชภัฏ” และในปี 2559 พระบามสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มอบหมายให้องคมนตรี แนะนำมหาวิทยาลัยราชภัฎให้ทำงานให้เข้าเป้าในการยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ตน โดยต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการคือ 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์งเหตุ-ผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย (นักคิด) 2) ทักษะในการสื่อสารองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหา (นักสื่อสาร) 3) ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ระดมสรรพกำลัง ทรัพยากรเพื่อการแก้ปัญหา (นักประสานงาน) และ 4) ทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม (นักสร้างนวัตกรรม) (มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2563)
                มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีทั้งหมด 7 คณะ ซึ่งรวมถึงคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้วย ในส่วนของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้นก็ประกอบไปด้วย 9 สาขาวิชาคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษธุรกิจ บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ดนตรี ศิลปะดิจิทัล การพัฒนาสังคม รัฐประศาสนศาสตร์ และ นิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะพัฒนานักศึกษาให้เป็นวิศวกรสังคมตามนโยบายของมหาวิทยาลัย จึงได้จัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้เป็นวิศวกรสังคมทำงานร่วมกับชุมชนชาบ้านเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน
                ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จึงได้กำหนดจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการระดับชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ครั้งที่ 2 (NAC-HUSOC I: The 2nd National Conference on Humanities and Social Sciences for Undergraduate Students) ภายใต้ชื่อ “วิศวกรสังคมสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นงานประชุมที่อยู่ภายใต้โครงการ “BRICC Festival 2022” ขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และผ่านระบบออนไลน์
                โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
                        1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
                        2. เพื่อแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมต่าง ๆ ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
                        3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
                กลุ่มเป้าหมาย / ผู้เข้าร่วมโครงการ
                        1. นักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 100 คน
                        2. นิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จำนวน 100 คน
                สถานที่ในการดำเนินงาน
                        วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2565 ณ อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และผ่านระบบออนไลน์
                ผลผลิต
                        1. นักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัยและวิชาการ
                        2. นักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
                ผลลัพธ์
                        1. นักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นักศึกษา และนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ มีผลงานวิชาการและงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Online Proceedings) หรือ วารสารที่ร่วมเป็นแหล่งตีพิมพ์
                        2. เกิดการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างนักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กับนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
-->